กรุณารอสักครู่...
โปรโมชัน
Cart
Cart

หมวดหมู่สินค้า

อร่อยทั่วไทย

ของรักไปรษณีย์ไทย

ขุมทรัพย์ของดี

นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

สินค้าดีฝีมือเด็ด

ของฮิตติดกระแส

ของดีตามฤดู

THP SHOP

ภาษา

TH

|

EN

ทำความรู้จัก สารให้ความหวานจากธรรมชาติ น้ำตาลโตนด
ทำความรู้จัก สารให้ความหวานจากธรรมชาติ น้ำตาลโตนด
25 ธ.ค. 2023

แชร์

ทำความรู้จัก สารให้ความหวานจากธรรมชาติ น้ำตาลโตนด

ประวัติความเป็นมา

     ต้นตาลมีการพูดถึงในสมัยก่อนพุทธกาล มีถิ่นกำเนิดอยู่ทวีปอเมริกา และถูกนำมาเผยแพร่ทางอินเดียตอนใต้ และประเทศไทยได้รับพันธุ์ต้นตาลมาปลูก เมื่อตอนที่ทำการค้ากับอินเดียช่วงสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 - 16  คำว่าตาลมีที่มาจากคำว่า “ ตาละ ” มาจากภาษาบาลี ต้นตาลเป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้ที่ถูกพูดถึงในคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กล่าวไว้ว่า “ เมื่อใดก็ตามหากคนตัดกิเลสเหล่านี้ได้แล้ว ก็เปรียบเสมือนการตัดยอดตาล ทำให้ตาลด้วนไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีก ความทุกข์ก็เช่นกัน หากเราตัดกิเลสได้แล้วก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก ”

ขอบคุณรูปภาพจากwww.puechkaset.com  และwww.medthai.com

      ต้นตาล หรือ ต้นตาลโตนด ( Palmyra Palm ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Borassus flabellifer L. ต้นตาลเป็นพืชตระกูลปาล์ม ที่มีขนาดใหญ่ ต้นสูงถึง 25 เมตรหรือมากกว่า เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่จะเติบโตได้ดีในดินร่วน สามารถทนแล้ง ทนฝนได้  สามารถพบได้ทุกภาค มีอายุยืน และมีประโยชน์หลากหลาย ประกอบด้วย

ช่อดอก : จะมีน้ำหวาน เรียกว่า “ น้ำตาลสด ” มีสีขาวอมเหลือง 

ผล หรือ ลูกตาล

ผลอ่อน มีสีเขียว จาวตาลข้างในยังอ่อนนุ่มเป็นน้ำ โดยจะนำส่วนของหัวตาลซึ่งมีเนื้อผลบริเวณติดขั้ว เรียกว่า “ หัวตาล ” นิยมนำเนื้อด้านในมาทาน ทำแกงคั่ว หรือ นำมาทานแทนผักจิ้มน้ำพริก 

ผลแก่  มีผลสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม จะเรียกว่า “ ลูกตาลสด ”  จาวตาลข้างในมีสีขาวขุ่น และมีความเหนียวตามอายุผล สามารถรับประทานได้สดๆ หรือ ทำเป็นลูกตาลลอยแก้วในน้ำเชื่อม

ใบทางตาล :  มีลักษณะคล้ายรูปพัด ใบหนามีสีเขียวเข้ม ยาวประมาณ 2 เมตร กว้างประมาณ 1 เมตร

ลำต้น : มีลักษณะคล้ายต้นมะพร้าว มีลักษณะลำต้นกลม สูง เนื้อไม้แข็ง ไม่หักง่าย

ราก : มีลักษณะคล้ายต้นมะพร้าว หยั่งรากได้ลึก ทำให้ลำต้นแข็งแรง ไม่โค่นล้มได้ง่าย


ประโยชน์ของต้นตาล

  1. 1. ส่วนของเปลือกตาลนิยมนำมาทำเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากเมื่อนำเข้าเตาเผาจะได้ถ่านสีดำที่มีคาร์บอนสูงเป็นพิเศษ
  2. 2. ใบอ่อนของใบตาลสามารถนำมาใช้ในงานฝีมือ หรืองานจักรสานได้ ส่วนใบแก่สามารถนำมาทำเสื่อ สานตะกร้อ หรือมุงหลังคา
  3. 3. ลูกตาลสามารถนำมารับประทาน โดยใช้ทำขนมทานได้ เช่น ลูกตาลลอยแก้ว ขนมตาล ลูกตาลเชื่อม ฯลฯ 
  4. 4. ช่อดอก และ ช่อผล ของต้นตาลโตนด จะมีน้ำหวานที่เรียกว่า น้ำตาลสด สามารถนำมาทานสดได้ หรือ นำมาทำเป็นน้ำตาลปิ๊ปได้ โดยเราจะเรียกว่าสารให้ความหวานจากธรรมชาตินั่นเอง 

      วันนี้ ThailandPostMart ขอแนะนำสินค้าที่ที่ผลิตจากน้ำตาลโตนดให้ทุกคนได้รู้จักกัน

      น้ำตาลโตนดก้อน ตาลบุรี ผลิตจากน้ำตาลโตนดแท้ 100%  ไม่ผสมน้ำตาลทราย และมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low GI Sugar) โดยน้ำตาลจะดูดซึมเข้ากระแสเลือดช้า ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มอย่างรวดเร็ว  และที่สำคัญสะดวกต่อการใช้งาน น้ำหนัก 5 กรัม/ก้อน ช่วยควบคุมปริมาณการใช้น้ำตาลต่อวันได้ เหมาะสำหรับเพิ่มความหอมหวานให้ชา กาแฟ และเครื่องดื่มต่าง ๆ หรือนำมาปรุงรสอาหารคาวหวาน,ขนมหวาน และเบเกอรี่

สนใจสั่งซื้อสินค้าคลิก…..https://bit.ly/4auREsv


      หรือจะเป็นเซ็ทผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนด ที่จะประกอบด้วยน้ำตาลโตนดผง 250 กรัม 1 ถุง น้ำหวานตาลโตนด 200 กรัม 1 ขวด, น้ำตาลโตนดก้อน 135 กรัม 1 ขวด และเครื่องดื่มโกโก้ปรุงสำเร็จชนิดผงผสมน้ำตาลโตนดและมอลต์ 140 กรัม 1 ถุง

สนใจสั่งซื้อสินค้าคลิก…..https://bit.ly/3GT3TBN

      สุคันธา ทองม้วนน้ำตาลโตนด รสต้นตำรับ เนื้อไม่แข็ง รสชาติหวานน้อย หอมน้ำตาลโตนด มีขนาด80 กรัม มี 6 กระป๋อง

สนใจสั่งซื้อสินค้าคลิก…..https://bit.ly/3vc3KqB


แหล่งอ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5

https://www.landactionthai.org/2012-05-18-03-24-45/article/item/2166-2018-07-10-03-21-28.html

https://www.kasetnumchok.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%94/

https://puechkaset.com/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%94/

https://medthai.com/%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a5/

www.freepik.com

https://kaset.today/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5/

https://skm.ssru.ac.th/th/news/view/a155