กรุณารอสักครู่...
โปรโมชัน
Cart
Cart

หมวดหมู่สินค้า

อร่อยทั่วไทย

ของรักไปรษณีย์ไทย

ขุมทรัพย์ของดี

นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

สินค้าดีฝีมือเด็ด

ของฮิตติดกระแส

ของดีตามฤดู

THPSHOP

Thai Selects

ภาษา

ผ้าขาวม้าหมักน้ำนมข้าว ของดีบ้านคลองน้ำหู
ผ้าขาวม้าหมักน้ำนมข้าว ของดีบ้านคลองน้ำหู
28 พ.ค. 2024

แชร์

ผ้าขาวม้าหมักน้ำนมข้าว ของดีบ้านคลองน้ำหู

            ผ้าขาวม้า มีลักษณะเป็นผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลวดลายต่างกันไป โดยมีการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่ใช้นุ่งอาบน้ำ เช็ดตัว หรือทำเปล โดยในประเทศไทยมีการเรียกผ้าขาวม้าแตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่างๆ

  • -ภาคกลาง เรียกว่า “ ผ้าขาวม้า ” โดยผ้าหนึ่งผืนจะใช้ประมาณ 4 สี ทอสลับกันไปตามแนวเส้นพุ่งและเส้นยืน
  • -ภาคใต้ เรียกว่า “ ผ้าซักอาบ หรือ ผ้าชุบ ” จะใช้ผ้าฝ้ายอย่างดีในการทอ
  • -ภาคอีสาน เรียกว่า “ ผ้าอีโบ้ ”  มี 2 ลักษณะ คือ ผ้าแพรขาวม้า มีลวดลายสี่เหลี่ยมจัตุรัสคล้ายตารางหมากรุก และ ผ้าแพรไส้ปลาไหล มีลวดลายเป็นริ้วๆ คล้ายกับปลาไหลที่ถูกผ่าท้องควักไส้ออกมา จึงเห็นเนื้อปลาไหลเป็นริ้วๆ
  • -ภาคเหนือ เรียกว่า “ ผ้าหัว ผ้าตะโก้ง หรือ ตาโก้ง ” ตรงบริเวณเชิงของผ้าจะใช้เทคนิคการจกลวดลายเข้าไปเพิ่ม โดยลายที่จกเข้าไปจะเน้นลายตามคตินิยมของแต่ละชุมชน เช่น ลายนก ลายช้าง ลายม้า ลายเจดีย์ ลายยกดอก


            โดยวิสาหกิจชุมชนคลองน้ำหูผ้าหมักน้ำนมข้าว จังหวัดระยอง เห็นถึงความสำคัญของการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ ในปี พ.ศ. 2559  จึงมีการตั้งปณิธานไว้ว่า “ จะขอสืบขอสานตามแนวทางแม่ได้วางไว้ให้ในเรื่องผ้า อนุรักษ์ รักษา พัฒนา ร่วมสืบสานงานของแม่ ด้วยใจภักดิ์ ” โดยการนำข้าว วัตถุดิบหลักของไทย มาใช้ในกระบวนการผลิตผ้าหมักน้ำนมข้าว ทำให้ผ้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดดเด่นมากยิ่งขึ้น ทั้งมีความนุ่มลื่น และ มีกลิ่นหอม ตอบโจทย์ในการใช้งาน เนื่องจากมีความนุ่มลื่นใส่สบาย รวมไปถึงผู้ที่ผิวแพ้ง่าย ผู้ป่วยติดเตียง ก็สามารถใช้ได้ 

            มีการจัดจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ที่ชื่อว่า “ สานเส้นฝ้าย (Sansenfay) ” ที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ( มผช. ), การรับรองการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของ “ เสื้อผ้าสำเร็จรูปหญิง ” จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( สมอ. ) และอื่นๆอีกมากมาย


โดยมีกระบวนการผลิต ดังนี้

  1. 1, การเตรียมต้นข้าว โดยการเลือกต้นข้าวที่ตั้งท้องอายุประมาณ 110 วัน เนื่องจากมีน้ำนมข้าวมาก โดยการนำข้าวมาผ่านกระบวนการคั่วข้าว > การตำข้าว > การเป่าแกลบ > การตำข้าว > การฝัดข้าว > การแยกเมล็ดข้าวเม่าและจมูกข้าว 
  2. 2. เมื่อได้จมูกข้าวมาแล้ว ทำการแช่จมูกข้าว ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วนำไปคั้น และ กรองด้วยผ้าขาวบาง  จนได้น้ำนมข้าวจากจมูกข้าว *** กากจมูกข้าวละเอียดสามารถนำไปทำสบู่ และ ปุ๋ยได้
  1. 3. กวนน้ำนมข้าวจนแตกและมีกลิ่นหอม ผสมกับหัวน้ำเชื้อและน้ำเปล่าในถังกวน 1-2 ชั่วโมง
  2. 4. นำผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม ที่แยกโทนสี ไปต้มด้วยน้ำทะเลเจือจาง ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และ ผึ่งให้แห้ง (สามารถใช้น้ำประปาผสมเกลือและสารส้มแทนน้ำทะเลได้)
  3. 5. นำผ้าที่ผึ่งไว้ลงหมักในตุ่มดิน และนำน้ำข้าวที่อยู่ในถังกวนมาใส่ นวดผ้าเพื่อให้น้ำนมข้าวซึมเข้าเนื้อผ้า ทิ้งไว้ 10-12 ชั่วโมง
  4. 6. นำผ้าที่หมักทิ้งไว้ไปผึ่งในร่ม เมื่อแห้งแล้วนำมารีดและบรรจุผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย


            โดยใครที่สนใจอยากอุดหนุนสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่สืบสานความเป็นไทย สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ที่… https://bit.ly/4bz9NFR

แหล่งอ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%B2

https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4022/