กรุณารอสักครู่...
โปรโมชัน
Cart
Cart

หมวดหมู่สินค้า

อร่อยทั่วไทย

ของรักไปรษณีย์ไทย

ขุมทรัพย์ของดี

นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

สินค้าดีฝีมือเด็ด

ของฮิตติดกระแส

ของดีตามฤดู

THP SHOP

ภาษา

TH

|

EN

เรื่องน่ารู้ของเกลือ
เรื่องน่ารู้ของเกลือ
12 ธ.ค. 2023

แชร์

เรื่องน่ารู้ของเกลือ

เกลือ คือแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ ซึ่งแบ่งตามแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน  2 แหล่ง คือ 

     ทะเล เรียกว่า “ เกลือสมุทร ” โดยการนำน้ำทะเล มาเก็บไว้ในนา เพื่อให้ตะกอนและสิ่งเจือปนต่างๆตกตะกอน จนได้น้ำทะเลที่สะอาด แล้ววิดด้วยกังหันลมหรือเครื่องสูบน้ำไปยังนาตาก เพื่อตากแดดให้น้ำทะเลระเหยออกไป และระบายเข้าสู่นาปลง (เป็นนาขั้นตอนสุดท้าย ตากน้ำเค็มไว้ประมาณ 10-15 วัน) เพื่อให้น้ำทะเลระเหย จนเหลือเป็นผนึกเกลือสีขาว การเก็บเกลือโดยการกองรวมเป็นกองๆ คล้ายเจดีย์ เพื่อเก็บเข้ายุ้งฉาง หรือนำไปจำหน่ายต่อไป


ขอบคุณรูปภาพจาก www.scimath.org

     จากใต้ดิน เรียกว่า “ เกลือสินเธาว์ ” โดยเกลือชนิดนี้จะอยู่ใต้ดินของประเทศไทย บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งเป็น 2 แอ่ง  คือ แอ่งเหนือ จังหวัดสกลนคร อุดรธานี หนองคาย และนครพนม แอ่งใต้ จังหวัดโคราช มหาสารคาม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ อุบลราชธานี นครราชสีมา สุรินทร์ และ บุรีรัมย์ ในการผลิตเกลือสินเธาว์ มี 2 วิธีด้วยกัน คือ 

     การต้มเกลือ โดยสูบน้ำเกลือจากใต้ดิน ขึ้นมาเคี่ยวหุง จนได้ผนึกเกลือและนำมาตากให้แห้ง

     การนำดินเอียด (ดินที่มีส่าเกลือ คือ ดินเค็มที่มีเมล็ดเกลือที่เป็นดอกสีขาว) มาผสมกับแกลบ แล้วเทใส่รางเกราะน้ำเกลือ และเทน้ำสะอาดลงไป โดยด้านล่างของรางเกราะมีรูเพื่อให้น้ำเกลือไหล   ลงไปใส่ภาชนะที่รองไว้ โดยน้ำเกลือที่ได้ออกมา จะเรียกว่า น้ำเอียด นำไปเคี่ยวหุงต่อ จนได้ผนึกเกลือ และนำมาตากให้แห้ง


ขอบคุณรูปภาพจาก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดน่าน https://nantourism.go.th/travel-detail.php?id=9

     เกลือเป็นเครื่องปรุงที่หาง่าย และนิยมใช้ในการปรุงอาหาร โดยมีการค้นพบว่ามนุษย์ใช้เกลือปรุงอาหาร เมื่อ 6,000 ปีที่แล้ว ที่ประเทศโรมาเนีย โดยทำการต้มน้ำเพื่อสกัดเกลือ และมีการทำนาเกลือที่ ประเทศจีนในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน เกลือถูกตีราคาสูง โดยชาวกรีก โรมัน ฮีบรู ฮิไทต์ ไบแซนไทน์ และ ชาวอียิปต์ 

     ในปัจจุบัน เกลือที่เราใช้ในการบริโภค มีหลากหลายชนิดด้วยกัน สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้

  1. 1.เกลือบริโภค (Table Salt) เป็นเกลือที่นิยมใช้ปรุงอาหารในครัวเรือน มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว โดยมักจะมีการเสริมไอโอดีนลงไป เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อป้องกันการเป็นโรคคอพอก และมีส่วนผสมของสารที่ทำให้ไอโอดีนคงตัว ทำให้เกลือ ไม่จับตัวกันเป็นก้อนและเทง่าย ป้องกันการดูดน้ำ
  2. 2.เกลือโคเชอร์ (Kosher Salt) มีที่มาจากขั้นตอนของการจัดการกับเนื้อสัตว์ ในขั้นตอนของการดูดล้างเลือดออกจากเนื้อสัตว์โดยให้เกลือ  เรียกว่า “ Koshering Meat ”  มีลักษณะเกล็ดที่ใหญ่กว่าเกลือป่น โดยไม่มีการเติมไอโอดีนลงไป สามารถใช้ปรุงอาหารได้ตามเหมาะสมกับเมนูที่ต้องใช้เกลือเกล็ดใหญ่ เช่น นำมาปาดขอบแก้วเครื่องดื่มมาการิต้า
  3. 3.เกลือหมักดอง (Pickling Salt) จะนิยมใช้ในการดองอาหารเท่านั้น เพราะด้วยรสชาติของเกลือที่เค็มจัด มีลักษณะเหมือนเกลือบริโภค เพราะไม่มีการเติมไอโอดีนและส่วนผสมของสารที่ป้องกันการจับตัวเป็นก้อน
  4. 4.เกลือหิมาลัย (Himalayan Salt) มีแหล่งกำเนิดมาจากเทือกเขาหิมาลัย ของประเทศปากีสถาน เป็นเกลือที่มีประโยชน์และสะอาดที่สุดในโลก โดยเกิดจากพลังงานแสงแดดที่ทำให้ทะเลในยุคโบราณ เกิดการระเหย และ ตกผลึก ทำให้เหลือเพียงเกลือที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ เกลือหิมาลัยมีทั้งเกลือชมพูและเกลือดำ 


รวมประโยชน์ของเกลือ


  1. 1.ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำได้
  2. 2.ช่วยกำจัดวัชพืชในดินได้ โดยการโรยเกลือให้ทั่วบริเวณที่มีวัชพืชอยู่ และรดน้ำลงไป
  3. 3.ช่วยถนอมผลไม้ด้วยการนำเกลือไปละลายน้ำ และหั่นผลไม้ลงไปแช่ในน้ำเกลือ ทำให้ผลไม้สีสวยเหมือนใหม่ ไม่ดำคล้ำ
  4. 4.ช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ โดยการนำเกลือไปละลายในน้ำร้อน และเทบริเวณที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น บริเวณท่อต่อน้ำทิ้งอ่างล้างจาน
  5. 5.ช่วยป้องกันการขาดไอโอดีนได้ แต่ต้องทานเกลือที่มีส่วนผสมของไอโอดีนเท่านั้น ถึงจะช่วยป้องกันโรคได้  โรคขาดสารไอโอดีนหรือเรียกอีกอย่างว่า โรคคอพอก เกิดจากความผิดปกติของไทรอยด์ที่เกิดภาวะขาดสารไอโอดีน ที่ส่งผลให้เกิดอาการคอพอกตามมา 

    

     โดยเกลือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย วันนี้ ThailandPostMart นำสินค้าจากเกลือมาแนะนำทุกคนกันค่ะ ไปดูกันเลย

  1. 1.ยัมมี่ เกลือหิมาลัยสีดำและเกลือหิมาลัยสีชมพู เป็นเกลือบริโภคไม่เสริมไอโอดีน สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน และที่สำคัญได้รับมาตรฐาน อ.ย. สามารถใช้เพื่อปรุงอาหาร และ ผสมในเครื่องดื่ม

  2. สนใจสั่งซื้อสินค้าคลิก https://bit.ly/3MUW3e8

  3. สนใจสั่งซื้อสินค้าคลิก https://bit.ly/3GcF7fp


  4. 2.เดิ่นเกลือพันดุง เกลือสินเธาว์ พันดุง จากอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา โดยจะมีการเริ่มต้มเกลือช่วงหน้าแล้ง หลังฤดูเก็บเกี่ยว ช่วง มกราคม - เมษายน ของทุกปี โดยสามารถนำเกลือไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ ทั้งเป็นส่วนผสมของอาหาร สำหรับขัดผิว และครีมอาบน้ำ



  5. สนใจสั่งซื้อสินค้าคลิก https://bit.ly/3SiRqwv 


  6. 3.มิชิม่า เกลือสปาหิมาลายา มีส่วนผสมจากเห็ดซางฮวงธรรมชาติ ใช้สำหรับขัดผิว     หลังใช้แล้วจะช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพ ช่วยกระตุ้นการเกิดของเซลล์ผิวใหม่ สามารถกักเก็บความชุ่มชื่นให้กับผิว ทำให้ผิวเนียนนุ่ม ไม่แห้งกร้าน

  7. สนใจสั่งซื้อสินค้าคลิก https://bit.ly/3RdmcXh


แหล่งอ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD

นาเกลือ - วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

https://www.wongnai.com/food-tips/types-of-salt

https://www.scimath.org/image-chemistry/item/11048-2019-11-08-04-54-52

https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles/25610728.pdf

https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1465/iodized-table-salt-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%99

https://www.pholfoodmafia.com/salt-varieties-%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

ณัฐณภรณ์เอกนราจินดาวัฒน์ และ รัฐวิชญ์ วัจนปรีชาศักดิ์, การพัฒนาผลิตภัณฑ์นิสิตเซรั่มวิบวับด้วยเกลือหิมาลายันเพื่อชะลอความชราของผิวหน้า (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2565), หน้า 72-77.

https://www.sgethai.com/article/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C/

https://www.chonklang.com/th/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-36/

https://www.freepik.com

https://www.pobpad.com/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1

https://www.bangphralocal.go.th/news/info/content/240