ชุด หนังสือ ๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้ (๑ ชุด มี ๘ เล่ม)
- เหมาะสำหรับสั่งซื้อเป็นของขวัญของฝากแสดงความเคารพถึงผู้ที่มีใจรักในวงสุนทราภณ์ เป็นมรดกไว้ให้ลูกหลานช่วยกันอนุรักษ์สืบต่อไป
ISBN : ๙๗๘๖๑๖๘๐๕๖๖๖๐
ผลงานการค้นคว้าของ คีตา พญาไท (อาจารย์ไพบูลย์ สำราญภูติ) ผู้รวบรวมเรื่องราวเกร็ดประวัติของครูเพลงผู้ประพันธ์คำร้อง และทำนอง นักร้อง นักดนตรี บทเพลง และความบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานเพลงสุนทราภรณ์ จนได้รับความนิยมจากผู้ฟังร้อยเรียงเป็นเรื่องเล่าและมีบทเพลงอันไพเราะ ที่แฝงด้วยปรัชญาแห่งชีวิตประกอบ จัดทำขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ ๘ ทศวรรษของวงดนตรีสุนทราภรณ์ มูลนิธิสุนทราภรณ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จำนวนเล่ม : ๑ ชุด มี ๘ เล่ม
ชนิดปก : ปกแข็งเย็บกี่
เนื้อในพิมพ์ : ๒ สี (สีดำและสีผสม) กระดาษถนอมสายตา ๗๕ แกรม
ชุด หนังสือ ๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้
เนื่องในวาระครบรอบ ๘ ทศวรรษของ วงดนตรีสุนทราภรณ์ มูลนิธิสุนทราภรณ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ คีตา พญาไท (อาจารย์ไพบูลย์ สำราญภูติ) ผู้มีความผูกพัน และเล็งเห็นความสำคัญของวงดนตรีสุนทราภรณ์ มูลนิธิสุนทราภรณ์ และ คีตา พญาไท (อาจารย์ไพบูลย์ สำราญภูติ) จึงได้จัดพิมพ์หนังสือทรงคุณค่าชุด “๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้” รวมด้วยกัน ๘ เล่ม
ผลงานการค้นคว้า ของ คีตา พญาไท (อาจารย์ไพบูลย์ สำราญภูติ) ผู้รวบรวม เรื่องราวเกร็ดประวัติของครูเพลงผู้ประพันธ์คำร้องและทำนอง นักร้อง นักดนตรี บทเพลง และความบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน เพลงสุนทราภรณ์ จนได้รับความนิยมจากผู้ฟัง ที่ร้อยเรียงเป็นเรื่องเล่าและมีบทเพลงอันไพเราะ ที่แฝงด้วยปรัชญาแห่งชีวิตประกอบ จึงทำให้ผู้อ่านเห็นถึงอัจฉริยภาพของบรรดาคีตกวีและครูเพลง ประวัติศาสตร์ของวงการเพลงไทยสากลจากวงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่เป็นผลงานเพลงอมตะมากกว่า ๒,๐๐๐ เพลง
ชื่อชุดหนังสือ : ๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้ (จำนวน ๘ เล่ม)
เล่มที่ ๑ "พระเจ้าทั้งห้า ตำนานความเป็นมาของ สุนทราภรณ์" ค้นคว้าจาก บทเพลง พระเจ้าทั้งห้า คือ ๑. บิดา มารดา ๒. สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ๓. ครู อาจารย์ ผู้บังคับบัญชา ๔. ครอบครัว ลูกเมีย ๕. ผลงาน บทเพลง นักดนตรี นักร้อง (๖๙๒ หน้า)
เล่มที่ ๒ "หนังสือ เอื้อ สุนทรสนาน ดุริยกวีสี่แผ่นดิน" เริ่มต้นจากข้อมูล ครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นหลัก ต่อด้วย ครูเพลง ที่เกี่ยวข้องกับ ครูเอื้อ สุนทรสนาน เช่น พระเจน-ดุริยางค์, ครูนารถ ถาวรบุตร, หลวงสุขุมนัยประดิษฐ, ครูเวส สุนทรจามร, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า จักรพันธ์เพ็ญศิริ, ครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ และ ครูสุรัฐ พุกกะเวส (๕๔๐ หน้า)
เล่มที่ ๓ "๑๐๐ เพลงดี ๑๐๐ ปี เอื้อ สุนทรสนาน" เริ่มจาก สำรวจ คัดเลือก บทเพลงยอดนิยม ๑๐๐ เพลง จากแฟนเพลง บจก.เมโทรแผ่นเสียง เพลงที่เกี่ยวข้องกับ ครูเอื้อ สุนทรสนาน, เพลงเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ มหาจักรีบรมราชวงศ์, เพลงสถาบันการศึกษา, เพลงที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน แต่งคู่กับครูเพลงท่านอื่นๆ เป็นต้น (๔๓๒ หน้า)
เล่มที่ ๔ "แก้ว อัจฉริยะกุล อัจฉริยะคีตกวี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์" มีแนวคิดจากเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่าง ครูแก้ว อัจฉริยะกุล กับ ครูเวส สุนทรสนาน, ครูนารถ ถาวรบุตร, หลวงสุขุมนัยประดิษฐ บทเพลงที่ครูแก้ว อัจฉริยะกุล แต่งร่วมกันกับ ครูเอื้อ สุนทรสนาน โดยแบ่งตามประเภท ของ เนื้อหา เรื่องราว เช่น เพลงปลุกใจ, เพลงสดุดี เทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์, สถาบันการศึกษา, เพลงเกี่ยวกับจังหวัดสถานที่ท่องเที่ยว, เพลงเกี่ยวกับคติธรรม เป็นต้น (๘๖๘ หน้า)
เล่มที่ ๕ "สุรัฐ พุกกะเวส ยอดขุนพลเพลงสุนทราภรณ์" มีแนวคิดจากเรื่องความสัมพันธ์ ของครูสุรัฐ พุกกะเวส กับ ครูเวส สุนทรจามร, ครูสริ ยงยุทธ, ครูธนิต ผลประเสริฐ, ครูเอื้อ สุนทรสนาน และเพลงที่แต่งร่วมกันกับ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ต่อด้วยเพลงที่เขียนร่วมกับ ครูไสล ไกรเลิศ, ครูสง่า อารัมภีร, ครูสมาน กาญจนะผลิน เป็นต้น (๔๓๒ หน้า)
เล่มที่ ๖ "ชอุ่ม ปัญจพรรค์ คีตกวีผู้สร้างสรรค์ บทเพลงรักหวาน อันแสนไพเราะ" เริ่มจากประวัติครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ และเพลงที่แต่งร่วมกันกับ พลโทหม่อมหลวงขาบ กุญชร, ครูเวส สุนทรจามร, ครูสริ ยงยุทธ, ครูสมพงษ์ ทิพยะกลิน และเพลงที่แต่งร่วมกันกับ ครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นต้น (๓๒๔ หน้า)
เล่มที่ ๗ "ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ศิลปิน ครูเพลง นักเลง กวี" เริ่มจาก การเล่าประวัติ ของ ครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ แบ่งประเภทของเพลงที่แต่ง เช่น เพลงแรกที่แต่ง, เพลงพระราชนิพนธ์, เพลงเทิดพระเกียรติ, เพลงประจำวงดนตรีสุนทราภรณ์ ฯลฯ และแบ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้แก่นักร้อง (เรียงตามตัวอักษร ก. – ฮ.) เป็นต้น (๘๗๒ หน้า)
เล่มที่ ๘ "สุนทรียะ มาร์เก็ตติ้ง กรณีศึกษา เสรีเซ็นเตอร์ กับ สุนทราภรณ์" เล่มนี้เป็นการรวมบทความที่เขียนลงในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (คุณขรรค์ชัย บุนปาน เป็นผู้ตั้งชื่อให้) เริ่มจาก ละครเพลง มิวสิคัล เธอเท่านั้น เมื่อฝันที่เป็นจริง แล้วต่อด้วย เรื่องราวด้านการบริหาร ศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์ ด้วยการนำวงดนตรีสุนทราภรณ์ ไปแสดงฟรีคอนเสิร์ต ในแบบ Music Marketing เสรีเซ็นเตอร์, คอนเสิร์ตต่าง ๆ, การเขียนหนังสือเล่มต่าง ๆ, มูลนิธิสุนทราภรณ์, อนุสรณ์สถาน ครูเอื้อ สุนทรสนาน, สุนทราภรณ์สัญจรต่างประเทศ, มูลนิธิศิลปินแห่งชาติ และโครงการหนังสือนวมินทราศิราวาทสยามศิลปิน เป็นต้น (๕๐๘ หน้า)