หมวดหมู่สินค้า
อร่อยทั่วไทย
ของรักไปรษณีย์ไทย
ขุมทรัพย์ของดี
นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สินค้าดีฝีมือเด็ด
ของฮิตติดกระแส
ของดีตามฤดู
THPSHOP
ภาษา
TH
|EN
แชร์
ร่วมอนุรักษ์มรดกไทย ให้ยืนยาว ส่งต่อถึงรุ่นหลาน
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรี ซึ่งในยุคนั้นนายกรัฐมนตรี คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีการประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งเป็นวันคล้าย วันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องจากพระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปะวัฒนธรรมของชาติ และเพื่อรณรงค์ให้เกิดความเข้าใจ เห็นถึงความสำคัญและให้คนในสังคมได้มีส่วนร่วมในการรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
มรดกไทย หมายถึง มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของชาติ ได้แก่ ประเพณีต่างๆ วรรณกรรม ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุและศิลปวัตถุสมัยต่างๆ นาฏศิลป์และดนตรี ศิลปหัตถกรรม โบราณสถาน
1. ประเพณีต่างๆในประเทศไทย
หมายถึง กิจกรรมทางสังคมที่ผู้คนส่วนใหญ่ยึดถือปฏิบัติต่อกันมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน โดยสามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
-จารีตประเพณี เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับศีลธรรมและจรรยาของสังคม
-ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่วางเป็นระเบียบเอาไว้ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม
-ธรรมเนียมประเพณี เป็นเรื่องทั่วไป ไม่มีระเบียบเคร่งครัดเหมือนขนบประเพณี ไม่ถือว่าทำผิด ถ้าไม่ปฏิบัติ
โดยประเพณีมีความสำคัญ คือ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม ช่วยเป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมคนในสังคม และ ช่วยผสมผสานความเชื่อต่างๆเข้าด้วยกัน
ประเพณีของไทยที่มีจุดเด่น เช่น
ประเพณีสงกรานต์ โดยส่วนมากในตอนเช้าจะมีการตักบาตรทำบุญ การสรงน้ำพระที่บ้าน การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ภายในบ้าน และมีการทำกิจกรรมรื่นเริงร่วมกัน เช่น การเล่นน้ำ ฯลฯ
ประเพณีบุญบั้งไฟ ในภาคอีสาน ที่จะจัดขึ้นในเดือนหก เรียกว่า “ บุญเดือนหก ” ซึ่งเป็นการจัดงานรื่นเริงครั้งใหญ่ เพื่อสร้างกำลังใจก่อนมีการเริ่มทำนา และมีความเชื่อที่ว่าหากบูชา “ พระยาแถน ” ให้พอใจ จะสามารถช่วยให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์และจะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาลได้
ขอบคุณรูปภาพจาก https://th.wikipedia.com
2. วรรณกรรม
หมายถึง ผลงานศิลปะที่มาจากความคิดหรือจินตนาการที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา ไม่ว่าจะเป็นการพูดบอกเล่า การบันทึก เช่น การเขียน หรือการแสดงท่าทาง เพื่อสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจกันระหว่างมนุษย์ โดยความงามของการใช้ศิลปะของภาษา ขึ้นอยู่กับภาษาต่างๆที่แต่งต่างกัน สามารถปรุงแต่งได้ ให้เกิดความไพเราะ หรือสวยงาม รวมไปถึงการใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน และตามความเหมาะสม โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
-วรรณกรรมลายลักษณ์ เป็นวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ
-วรรณกรรมมุขปาฐะ เป็นวรรณกรรมที่เล่ากันปากต่อปาก โดยไม่ผ่านการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ตำนานพื้นบ้าน
3. ศิลปวัตถุ
หมายถึง สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีต และ มีคุณค่าทางศิลปะสูง ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม ฯลฯ
4. โบราณวัตถุ
หมายถึง สิ่งของ หรือ อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณ รวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากสัตว์ ซากมนุษย์ โดยอายุของวัตถุจะอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป โดยสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สังหาริมทรัพย์ ( เคลื่อนที่ได้ )
- ของโบราณ ( ไม่กำหนดอายุ )
นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการแสดงท่าประกอบดนตรี เช่น การรำ ระบำ การฟ้อน โดยในแต่ละพื้นที่จะมีคำเรียกที่แต่ต่างกันออกไป
ดนตรี หมายถึง ศิลปะที่ใช้เสียงในการสื่อสารออกไป โดยถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกออกไปผ่านทางเสียง โดยมีการสันนิษฐานว่ามีต้นแบบมาจากประเทศอินเดีย เนื่องจากอินเดียถือว่าเป็นนแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญของโลก จึงทำให้มีการเผยแพร่อิทธิพลมายังประเทศต่างๆในแถบเอเชีย
6. ศิลปหัตถกรรม
หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ผลิตขึ้น โดยผู้ผลิตต้องเป็นคนที่เข้าใจในศิลปะและหัตถกรรม สร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย และ มีความสวยงาม สามารถแยกได้หลากหลายประเภท เช่น
- การแยกตามวัสดุและกรรมวิธีการผลิต เช่น การปั้นและการหล่อ การเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก การจักสาน
- การแยกตามสถานภาพของช่าง เช่น ศิลปหัตถกรรมจากฝีมือช่างหลวง และ จากฝีมือชาวบ้าน
- การแยกตามคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่น งานศิลปหัตถกรรมในรูปธรรมทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่สร้างขึ้นมาเพื่อสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต
7. โบราณสถาน
หมายถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง ที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีอายุและประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานที่เกี่ยวข้องและมีประโยชน์ในทางศิลปะ รวมไปถึงแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และ อุทยานประวัติศาสตร์อีกด้วย
โดย ThailandPostMart เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกของไทย จึงอยากเชิญชวนให้นักสะสมแสตมป์ทุกคนได้รู้จักกับโบราณสถานในประเทศไทย นั่นก็คือ เขาคลังนอก นั่นเอง เป็นโบราณสถานของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ถูกค้นพบมานานแล้ว แต่เพิ่งบูรณะเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ. 2555 ที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี โดยถูกสันนิษฐานว่าเดิมเป็นสถูปขนาดใหญ่ ( สถูป คือ สิ่งก่อสร้างทรงโอคว่ำ ที่สมัยก่อนสร้างจากมูลดิน แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้ อิฐและหินแทน โดยใช้เป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุในศาสนาพุทธ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ ) ที่สามารถเดินขึ้นไปด้านบนได้ โดยมีทางขึ้นลงทั้ง 4 ด้าน กว้างด้านละประมาณ 64 เมตร มีความสูงจากฐานถึงยอดประมาณ 20 เมตร
สนใจสั่งซื้อสินค้าคลิก…. https://bit.ly/3Vz5khq (แสตมป์วันอนุรักษ์มรดกไทย) และ https://bit.ly/3TPLBIZ (ซองวันอนุรักษ์มรดกไทย)
แหล่งอ้างอิง
https://50510ubonrat.wordpress.com/
https://finearts.go.th/storage/contents/detail_file/1WsWxgESixfCL5TxmNZa1oY1SZL8OGcIcUfPIJKC.pdf
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%9B
http://119.46.166.126/digitalschool/p5/so5_1/lesson7/content1/more/page03.php