ข้าว กข 43 คืออะไร?
ข้าว
กข 43 หรือ RD 43 เป็นข้าวเจ้าพันธุ์หนึ่งที่ได้จากการผสมเดี่ยวระหว่าง
พันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี
ในปัจจุบันจะพบแหล่งปลูกอยู่ที่จังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรีเป็นส่วนใหญ่
ข้าว กข 43 น้ำตาลต่ำกว่าข้าวอื่น
ข้าว
กข 43 มีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีค่าดัชนี้น้ำตาลต่ำกว่าข้าวอื่น ๆ ทั่วไป
เช่น ข้าว กข 15 มีดัชนีน้ำตาลที่ 69.1 ข้าวพิษณุโลก 80
ค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ที่ 59.5 แต่สำหรับข้าว กข 43 จะมีค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ที่
57.5 เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีค่าอมิโลสต่ำ
(ค่าที่สามารถระบุความนุ่มเหนียว และร่วนแข็งของข้าวได้ ค่าอมิโลสยิ่งต่ำ
ข้าวยิ่งนุ่ม) อยู่ที่ 18.82 % (ระดับที่เหมาะสมคือ 10-19) ทำให้ข้าว กข 43
มีความอ่อนนุ่ม รับประทานง่าย (ใกล้เคียงข้าวหอมดอกมะลิ 105)
ข้าว กข 43 ทางเลือกของผู้ป่วยเบาหวาน-ควบคุมน้ำหนัก
จุดเด่นของข้าวพันธุ์นี้
มีแป้งข้าวสารที่มีโมเลกุลมีขนาดใหญ่กว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ
เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว
การย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลก็จะช้ากว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ ดังนั้น ข้าวพันธุ์ กข
43
จึงเหมาะสำหรับผู้บริโภคที่เป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้การที่เป็นข้าวที่ใช้เวลาย่อยแป้งเป็นน้ำตาลได้ช้า
จึงทำให้อยู่ท้องได้นานขึ้น
จึงเหมาะกับคนที่อยู่ในระหว่างควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
ทั้งนี้
ไม่ได้หมายความว่า ข้าว กข 43 สามารถรับประทานได้โดยไม่กลัวอ้วน
หรือรับประทานแล้วช่วยลดน้ำหนักแต่อย่างใด เพราะอย่างไรข้าวก็คือข้าว
คือคาร์โบไฮเดรต คือแป้ง
เป็นเพียงอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้คนที่ชอบรับประทานข้าวได้ลองลิ้มชิมรสกัน
ดังนั้นจึงควรจำกัดปริมาณที่รับประทานในแต่ละวันให้เหมาะสม
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.sanook.com/health/17473/