ในยุคที่โลก ณ ปัจจุบันขับเคลื่อนและหมุนไปด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากมาย อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ทำให้ชีวิตของทุกคนไม่มีกำแพงของ ระยะทาง เวลา และความแตกต่างของภาษามาปิดกั้น การสื่อสารที่ต้องเดินทางผ่านวันเวลาตามกำหนดการของผู้ส่งสารนั้น จึงไม่อาจรวดเร็วได้เทียบเท่าการเดินทางด้วยตัวของมันเองผ่านคลื่นสัญญาณไร้รูปร่างหน้าตาที่เรียกว่า “อินเตอร์เน็ต” ได้เลย
แน่นอนว่าโลกนี้หมุนไปด้วยการวิวัฒนาการ ก่อนที่เราจะสื่อสารกันผ่านตัวหนังสือบนโลกออนไลน์นั้น ตัวหนังสือพวกนี้เคยถูกถ่ายทอดผ่านปลายปากกาลงบนกระดาษ และค่อยส่งต่อลงไปให้ถึงมือผู้รับ แต่ ณ เวลานี้เรื่องพวกนั้นคงกลายเป็นเพียง “ความทรงจำ” ของคนรุ่นเก่า และให้ความรู้สึก“คลาสสิก” กับคนรุ่นใหม่และไม่ว่าคุณจะเป็นคนรุ่นไหน เราจะพาคุณย้อนวันวานไปหา “ตู้แดง” ตู้ไปรษณีย์ที่คอยส่งความสุขให้คนไทยมาตลอด 138 ปี
ระบบไปรษณีย์ไทย เกิดขึ้นในประเทศไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบกิจการไปรษณีย์ในสมัยแรกคือ กรมไปรษณีย์ และมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างมาเรื่อย ๆ จนเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546 มีการปรับโครงสร้างโดยแยกการสื่อสารแห่งประเทศไทย ออกเป็น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) จนถึงปัจจุบัน
สัญลักษณ์ที่สำคัญเมื่อพูดถึงไปรษณีย์คือ “ตู้แดง” ตู้ไปรษณีย์ที่อยู่คู่คนไทยมาตลอด ในครั้งนี้เราจะพาไปรู้จัก 4 ตู้แดง รุ่นที่ทางไปรษณีย์ไทยได้มีการนำมาผลิตเป็น “กระปุกออมสินพิมพ์ลายรูปตู้ไปรษณีย์” ของสะสมสายวินเทจสุดเท่จากไปรษณีย์ไทย
ตู้ไปรษณีย์ปี พ.ศ. 2454: นำเข้ามาจากต่างประเทศในช่วงต้นสมัยพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) วัสดุเป็นการหล่อด้วยโลหะทั้งหมด มีลักษณะเป็นตู้ทรงกลม มีทั้งหมด 2 รุ่นด้วยกัน คือรุ่นที่สั่งทำจากประเทศอังกฤษ และ ประเทศสิงคโปร์
กระปุกออมสินพิมพ์ลายรูปตู้ไปรษณีย์พ.ศ. 2454 :https://bit.ly/2WFSbqx
ตู้ไปรษณีย์ปี พ.ศ. 2469 : ตู้ไปรษณีย์ทรงสี่เหลี่ยม ด้านบนมีลักษณะโค้งมนลงมา เป็นตู้ที่ได้ทำการผลิตเองในประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชากาลที่ 7) เป็นการสร้างโดยการหล่อด้วยซีเมนต์
กระปุกออมสินพิมพ์ลายรูปตู้ไปรษณีย์พ.ศ. 2469 :https://bit.ly/3mL3yIk
ตู้ไปรษณีย์ปี พ.ศ. 2514 : ตู้ไปรษณีย์ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง วัสดุที่ใช้ผลิตคือโลหะแผ่น แบบ ข. มีลักษณะเดียวกับแบบ ก. ต่างกันที่แบบ ข. จะมีช่องใส่ไปรษณียภัณฑ์เพียงช่องเดียว (ไปรษณียภัณฑ์หมายถึง สิ่งของหรือข่าวสารที่ส่งทางไปรษณีย์ มีขนาดเล็กและมีน้ำหนักน้อยกว่าพัสดุไปรษณีย์) จะใช้งานพื้นที่ที่มีไปรษณียภัณฑ์น้อย โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค
กระปุกออมสินพิมพ์ลายรูปตู้ไปรษณีย์พ.ศ. 2514 :https://bit.ly/3BD7WxB
ตู้ไปรษณีย์ปี พ.ศ. 2516 : ตู้ไปรษณีย์ทรงสี่เหลี่ยม แบบ ก. มีขนาดใหญ่กว่าแบบ ข. และมีช่องใส่ไปรษณียภัณฑ์สองช่อง ใช้งานในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลกับปลายทางในภูมิภาคหรือต่างประเทศ พื้นที่ที่มีการรับไปรษณียภัณฑ์ปริมาณมาก ๆ
กระปุกออมสินพิมพ์ลายรูปตู้ไปรษณีย์พ.ศ. 2516 :https://bit.ly/2WuFora
เป็นยังไงกันบ้างคะ กับวันวานสุดวินเทจของ “ตู้แดง” ที่เราพาไปรู้จักกัน เชื่อเลยว่าใครที่เคยทันได้ใช้ตู้ไปรษณีย์คงรู้สึกได้ย้อนเวลากลับไปหาความทรงจำดี ๆ กันไม่น้อย ส่วนคนที่ไม่ทันได้ใช้ก็คงรู้สึกได้ถึงความคลาสสิกของการสื่อสารในเมื่อก่อน และไม่ว่าคุณจะเป็นคนรุ่นไหนก็สามารถสัมผัสความทรงจำสุดคลาสสิกของตู้แดงได้ ผ่านกระปุกออมสินพิมพ์ลายตู้ไปรษณีย์ สุดวินเทจได้จาก www.thailandpostmart.com หรือจะดูสินค้าสุดน่ารักอื่น ๆ ของไปรษณีย์ไทยได้ที่หมวดหมู่ สินค้าไปรษณีย์
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.prachachat.net/d-life/news-207441
https://www.thailandpost.co.th/un/article_list_with_detail/aboutus/85