เกร็ดความรู้ ย้อนดูวัฒนธรรมไทย
ตอน…พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ชาวไทยได้รับข่าวดีอันเป็นมหามงคลรับปีใหม่ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 นับเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตของคนไทย และอาจจะเป็นเพียงครั้งเดียวในช่วงชีวิตของหลายคนที่จะได้อยู่ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่รู้หรือไมว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกคืออะไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก คือพระราชพิธีที่แสดงความสมบูรณ์แห่งพระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในโบราราชประเพณี เป็นแบบแผนอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
พระราชพิธีบรมราชภิเษก เป็นแบบแผนที่ได้รับการปฏิบัติเรื่อยมา แต่ในบางรัชกาลก็มีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย เช่น ในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีสัมพันธไมตรีกับประเทศในยุโรป และทรงรับคติการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎในการพระราชพิธีฯ อย่างราชสำนักยุโรป และโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มพระราชพิธีสงฆ์ด้วย ในขั้นนี้น้ำอภิเษกจึงมีทั้งน้ำพระพุทธมนต์และน้ำพระเทพมนต์ นอกจากนั้นยังมีพิธีสำคัญที่ปฏิบัติสืบมาคือ การบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษกประจำปี เรียกว่า ‘วันฉัตรมงคล’
ในสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีอย่างย่นย่อ และมีการตัดทอนการพิธีลงหลายอย่าง โดยมีกำหนดพระราชพิธีเพียง 3 วัน คือ 3-5 พฤษภาคม 2493 ครั้งนั้นมีเหตุการณ์สำคัญที่คนไทยจดจำได้ดีคือพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
ถ้าหากนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ประเทศไทยของเรานั้นก็ได้มีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมาแล้วจำนวน 11 ครั้ง ได้แก่